วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เพลงชาติไทย...ขับร้องโดยเด็กๆ ต่างชาติ น่ารักมากๆ

เพลงชาติไทยมีต้นกำเนิดยังไง ? แล้วเวลาที่เด็กต่างชาติร้องเพลงชาติไทยจะน่ารักขนาดไหนนะ ?
เคยได้ยินประโยคนี้กันรึเปล่า ? “หากคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง ?” เอาจริงๆ ประโยคนี้อาจไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะนำมาบอกเล่าให้ฟังกันในวันนี้สักเท่าไหร่ เพียงแต่อยากขยายความให้ชัดเจนว่า เพลงชาติคืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไร ?
เพลงชาติ หรือเพลงประจำชาติ หากมองเผินๆ เป็นเหมือนหนึ่งเครื่องมือที่คอยบอกเล่าให้คนในชาติ รัก และเทิดทูนไว้ซึ่งแผ่นดินเกิด แผ่นดินที่เราอยู่อาศัย โดยภายในเนื้อเพลงได้พยายามบอกเล่าวีรกรรมของบรรพบุรุษในชาติ ว่ากว่าจะได้มาซึ่งบ้านเกิดที่ให้เรามีกิน มีสุข พวกเขาต้องผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง ผ่านความยากลำบากมาขนาดไหน เราถึงได้ครอบครอง เป็นเจ้าของแผ่นดินร่วมกันดังเช่นในทุกวันนี้ หรือหากมองเป็นความหมายโดยตรง ก็คงเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ทำให้เราตระหนัก  และระลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอนแห่งนี้อยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตอยู่บริเวณไหนของโลกใบนี้ก็ตาม ผ่านการเปล่งเสียงร้องร่วมกันจนเป็นประเพณีปฏิบัติที่สมควรกระทำในทุกๆ วัน

ในหลากหลายประเทศทั่วโลกต่างก็มีเพลงประจำชาติเป็นของตนเอง ไม่เว้นแม้แต่บ้านเราที่ก็มี “เพลงชาติไทย ” มาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งในสมัยที่ชาติสยามยังปกครองด้วยระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราช” ได้มีการใช้ “เพลงสรรเสริญพระบารมี” เป็นเพลงเพื่อถวายความเคารพกษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล จนมาถึงปีพุทะศักราช 2482 รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก “สยาม” เป็น “ประเทศไทย” จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขเพลงประจำชาติไทยใหม่ โดยเปิดให้มีการส่งเนื้อเพลงชาติเข้าประกวด มีหลักการอยู่ว่าต้องแต่งให้เข้าทำนองของเพลงชาติฉบับเดิม ซึ่งในการยื่นประกวดแต่งเนื้อร้องครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดคณะกรรมการได้ตัดสินคัดเลือกเนื้อร้องของ “หลวงสารานุประพันธ์” นำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัย ไม่นานจึงมีมติรับเนื้อเพลงใหม่นี้ และได้รับแก้ไขบ้างในบางช่วงตามความเหมาะสม 
เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย


ในวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2482 รัฐบาลได้ออกประกาศ “รัฐนิยมฉบับที่ 6” ให้ใช้ทำนองเพลงชาติของ“พระเจนดุริยางค์” ตามแบบฉบับเดิมที่กรมศิลปากร ส่วนเนื้อร้องให้ใช้ของ “หลวงสารานุประพันธ์” ซึ่งประพันธ์ทั้งหมดขึ้นใหม่ในนามของ “กองทัพบก” จึงกลายมาเป็นแบบฉบับที่เราได้ฟัง ได้ร้องกันอยู่ในทุกวันนี้ ..

เนื้อเพลง
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย

เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน

อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล

ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี

ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด

เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่

สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี

เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

มาลองฟังเด็กๆต่างชาติร้องเพลงชาติไทยกันบ้าง

เด็กม้งร้องเพลงชาติไทยน่ารักสุดๆ
เด็กฝรั่งร้องเพลงชาติไทยแบบหล่อๆ
เด็กผู้หญิงญี่ปุ่นร้องร้องเพลงชาติไทยน่ารักจัง
เด็กเกาหลีร้องเพลงชาติไทยน่ารักจริงๆ
จริงๆก่อนหน้านี้ก็มีเนื้อร้องที่ ขุนวิจิตรมาตรา ประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการ และ เป็นฉบับต้องห้าม ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติ ฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476 มีดังนี้ 
(โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2477)
   แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทองไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมาร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไทสยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
   อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทยน้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชาเราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรีใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทยสถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น